(1) ข้อมูลทั่วไป

เมืองหลวง: นครหลวงเวียงจันทน์
พื้นที่: ประมาณ 237,00 ตารางกิโลเมตร
ประชากร: 6.758 ล้านคน
เมืองสำคัญ: เวียงจันทน์, สะหวันนะเขต, หลวงพระบาง, จำปาสัก
ภาษาราชการ: ลาว
ระบอบการปกครอง: สังคมนิยมคอมมิวนิสต์
ประธานประเทศ: ทองลุน สีสุลิด
นายกรัฐมนตรี: พันคำ วิพาวัน
อัตราแลกเปลี่ยน: 1 USD เท่ากับ 14,981.68 LAK (ณ วันที่ 7 ก.ค. 2565)
ทรัพยากรธรรมชาติ: ไม้, ดีบุก, ยิปชั่ม, ตะกั่ว, อัญมณี, ทองคำ, ถ่านหิน, เกลือ, ลิกไนต์
ความสำคัญ: เป็น Land link เชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งทางบกไทย-จีนไทย-เวียดนาม ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำโขง 4 แห่ง (แห่งที่ 1 หนองคาย-เวียงจันทน์, แห่งที่ 2 มุกดาหาร-สะหวันนะเขต, แห่งที่ 3 นครพนม-คำม่วน, แห่งที่ 4 เชียงของ-ห้วยทราย)

(2) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ สปป. ลาว

(Source: IMF)ปี 2023ปี 2024ปี 2025
GDP (US$bn) Current Price14.24414.09514.866
GDP Per Capital (US$)1878.711833.941908.87
GDP growth (%)3.9674.0074.123
Goods & services exports (%change)10.0673.042-0.755
Inflation (%)28.193

ตลาดส่งออกที่สำคัญของ สปป. ลาว: ไทย จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา สวีเดน เบลเยี่ยม

ตลาดนำเข้าที่สำคัญของ สปป. ลาว: ไทย จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ฮ่องกง ไต้หวัน

สินค้าส่งออกที่สำคัญ: แร่อื่นๆ (ยกเว้นทองแดง เหล็ก) ทองแดงและของใช้ที่ทำด้วยทองแดง ชิ้นส่วนเครื่องบันทึกภาพ เครื่องดื่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ปูนซีเมนต์ ยางพารา ปุย ยาสูบ

สินค้านำเข้าที่สำคัญ: เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์การไฟฟ้า น้ำมันดีเซล เครื่องจักรกล อะไหล่ ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เหล็กและผลิตภัณฑ์ สายไฟฟ้า และสายเคเบิ้ล เครื่องดื่ม อุปกรณ์สื่อสาร และชิ้นส่วนพลาสติก และเครื่องใช้ที่ทำด้วยพลาสติก สัตว์มีชีวิต เคมีภัณภัณฑ์

(3) ยุทศาสตร์/กิจกรรม

นโยบายการค้าเชิงรุกกระทรวงพาณิชย์

  1. ศึกษาศักยภาพและการส่งออกสินค้าของไทย (Thailand export performance Analysis)
    • ศึกษาแนวโน้มการผลิตสินค้า และนโยบายการค้าของประเทศต่าง ๆ
    • วิเคราะห์ศักยภาพสินค้าส่งออกของไทย
    • ส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน (Cross Border E-Commerce) เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก สอดคล้องกับนโยบาย “เร่งขยับตัวเลขการส่งออก เปลี่ยนจากอัตราการขยายตัวติดลบให้เป็นบวก”
  2. ข้อมูลการค้าเชิงลึก www.คิดค้า.com
    • พัฒนาเนื้อหาและรูปแบการนำเสนอข้อมูลแดชบอร์ด เพื่อดึงดูลดการเข้ามาใช้ามาใช้งาน เผยแพร่ข้อมูลอย่างมีเอกภาพ และสามารถชี้น้ำทิศทางเศรษฐกิจกิจการค้าไทย ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
  3. จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย
    • ในประเด็นปัจจัยที่มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการค้า เช่น แนวทางการขยายตลาดสินค้าอาหารไทย แนวทางการพัฒนาธุรกิจบริการโลจิสติกส์ การส่งเสริม และพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นต้น
  4. สนับสนุนการทำงานของทุกกรมในกระทรวงพาณิชย์
    • ศึกษาและจัดทำเสนอแนะแนวทางการส่งเสริม SMEs
    • ส่งเสริมการตลาดทั้งออนไลน์ และออฟไลน์
    • ศึกษาแนวทางที่สนับสนุนการใช้ Sot Power ของ SMEs เพื่อขยายโอกาสทางการค้า

แนวทางการส่งเสริมการส่งออกในภูมิภาคอาเซียน

  • จัดคณะผู้บริหารระดับสูงเดินทางเยือนประเทศในภูมิภาคอาเซียน เพื่อการหาช่องทางส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ รวมถึงแก้ไขปัญหา และอุปสรรคของการส่งออกสินค้าไทย
  • จัดกิจกรรม In-Store Promotion ร่วมกับซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน เช่น Rimping Supermarket (สปป.ลาว) / makro (กัมพูชา) / Tops Market (เวียดนาม) / AEON (อินโดนีเซีย) เน้นการจัดงานในรูปแบบ Hybrid คือ ดำเนินกิจกรรมออฟไลน์ ณ ซุปเปอร์มาร์เก็ต และออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มซุปเปอร์มาร์เก็ต ในกลุ่มสินค้าศักยภาพใหม่ อาทิ ของใช้ในครัวเรือน อาหารสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และความงาม
  • จัดงานแสดงสินค้า Thailand Week และ Mini Thailand Week เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ในการขยายตลาดในต่างประเทศ

กิจกรรมของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (ปีงบประมาณ 2567)

  • กิจกรรมส่งเสริมการขายผ่านช่องทางค้าปลีกสมัยใหม่

(4) สถานการณ์เศรษฐกิจ

  • วันที่ 23 ตุลาคม 2566 ได้มีพิธีเปิดตัวธนาคารชําระเงินหยวน แห่งแรกใน สปป.ลาว ที่ธนาคาร ICBC สาขานครหลวงเวียงจันทน์ เป็นทางการ ซึ่งการก่อตั้งธนาคารชําระเงินหยวน เป็นนิมิตหมายอันดีในการร่วมมือด้านการเงินของทั้งสองประเทศ และจะกลายเป็นสิ่งอํานวยความสะดวกให้แก่การค้าของสองประเทศในการชําระโดยสกุลเงินท้องถิ่น ช่วยผลักดันการแลกเปลี่ยนทางเทคนิค และบุคลากรให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม ส่งเสริมความร่วมมือด้านการเงินระหว่างสถาบัน การเงินของทั้งสองประเทศ เช่น การระดมทุน การออกพันธบัตร การกู้ยืม และการดําเนินธุรกรรม ในตลาดเงินและด้านอื่นๆ เพื่อบรรลุตามเป้าหมาย
  • เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้รายงาน เกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติระยะกลาง 5 ปี (2564-2568) ว่ามีการเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 4.03 ซึ่งบรรลุเป้าหมายการเติบโตเฉลี่ยอย่างน้อยร้อยละ 4 ที่ตั้งไว้ในแผน 5 ปี แม้ว่าลาว จะเผชิญกับความยากลําบาก และความท้าทายที่ไม่เคยเผชิญมานานหลายปีซึ่งมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมภายในประเทศ ภูมิภาค และระดับโลกโดยภาคอุตสาหกรรมมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย สูงสุดที่ร้อยละ 4.53 รองลงมาคือการบริการ ภาษีและภาษีศุลกากร รวมถึงเกษตรกรรม และป่าไม้ ที่ร้อยละ 4 3.6 และ 3.1 ตามลําดับ
  • เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผน และการลงทุน สปป.ลาว ได้กล่าวในการประชุมสภาแห่งชาติเกี่ยวกับความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายการเติบโตทาง เศรษฐกิจ และมาตรการควบคุมเงินเฟ้อว่า การอ่อนค่าของกีบส่งผลให้ GDP ต่อหัวลดลงจาก 2,595 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2564 เป็น 1,824 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2566 ขณะที่รัฐบาลวางแผนที่จะเพิ่มตัวเลขเป็น 2,880 ดอลลาร์ภายในปี 2568 ซึ่งบ่งชี้ว่ารายได้ของผู้คนลดลงตามค่าครองชีพที่สูงขึ้น
  • คณะกรรมการอํานวยความสะดวกด้านการค้า และการขนส่ง ได้จัดการประชุมหารือแก้ไขปัญหาท่าบก ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 โดยมีนายสะเหลิมไซ กมมะสิด รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศ นายมะไลทอง กมมะสิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า รองประธานกรรมาธิการเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมสภาแห่งชาติ รัฐมนตรีช่วย รองเจ้า ครองนครหลวงเวียงจันทน์ รองเจ้าแขวง รองประธานสภาการค้า และอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว รวมถึงตัวแทนจากภาครัฐ ผู้พัฒนาท่าบกและภาคธุรกิจเข้าร่วม การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อ รายงานผลการหารือแก้ไขปัญหาท่าบกและยังรับฟังการรายงานจากผู้พัฒนาท่าบกทั้งสามแห่ง (ท่านาแล้ง สะหวันนะเขต และวังเต่า)
  • วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 ดร. เกา กิม ฮวน (Dr Kao Kim Hourn) เลขาธิการอาเซียนเดินทาง เยือน สปป.ลาว ตามคําเชิญของ นายสะเหลิมไซ กมมะสิด รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อทํางานร่วมกับฝ่ายลาวในการเตรียมความพร้อมสําหรับการเป็นประธานอาเซียนของประเทศ โดยให้คํามั่นต่อนายสอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรีแห่ง สปป.ลาว ว่าจะช่วยให้ลาวบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในการเป็นประธานอาเซียน ปี 2024 และยืนยันถึง การสนับสนุนของเลขาธิการอาเซียนต่อลาวในขณะที่ภูมิภาคเปลี่ยนผ่านพ้นการฟื้นตัวหลังการแพร่ ระบาด Covid 19 และมุ่งสู่วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนปี 2045

ที่มา: กรมการค้าระหว่างประเทศ

Share.
Exit mobile version