การขนส่ง
ลาวพัฒนาเส้นทาง และระบบคมนาคมตามยุทธศาสตร์ศูนย์กลางคมนาคมในภูมิภาค (Land-linked country) มีเส้นทางถนนยาวรวมกันประมาณ 46,000 กม. (ปี 2564) และมีแม่น้ําที่ใช้ คมนาคมได้ 4,600 กม. ประกอบด้วย แม่น้ําโขง แม่น้ําอู แม่น้ําดื่ม ฯลฯ มีท่าอากาศยานรวม 14 แห่ง เป็นท่าอากาศยานระหว่างประเทศ 3 แห่ง คือ ท่าอากาศยานนานาชาติวัตไต นครหลวงเวียงจันทน์, ท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง นครหลวงพระบาง และท่าอากาศยานนานาชาติปากเซ แขวงจําปาสัก โดยมีสายการบินของรัฐ คือ สายการบินลาวแอร์ไลน์ และสายการบินเอกชน คือ ลาวสกายเวย์
สําหรับระบบราง ลาวมีเส้นทางรถไฟที่เปิดใช้งาน คือ เส้นทาง จ. หนองคาย-ท่านาแล้ง เปิดให้บริการเมื่อปี 2555 และเส้นทางรถไฟลาว-จีน (บ่อเต็น แขวงหลวงน้ําทา-นครหลวงเวียงจันทน์) เปิดใช้งานเมื่อ ธ.ค. 2564 และมีแผนพัฒนาโครงข่ายระบบราง อีก 6 เส้นทาง ประกอบด้วย 1) เส้นทางรถไฟ ความเร็วปานกลางไทย-ลาว-จีน ซึ่งเชื่อมต่อจากเส้นทางรถไฟจากสถานีท่านาแล้งกับสถานีหนองคาย 2) เส้นทางรถไฟลาว-เวียดนาม (นครหลวงเวียงจันทน์-ท่าเรือหวงแองค์) ส่วนอีก 4 เส้นทางซึ่งอยู่ในแผนการ แต่ไม่มีความคืบหน้า ได้แก่ 3) เส้นทางรถไฟสะหวันนะเขต-ลาวบาว (เวียดนาม) 4) เส้นทางรถไฟท่าแขก-วังเต่า (ชายแดนไทย-ลาว) 5) เส้นทางรถไฟปากเซ-เวิ่นคาม (ชายแดนลาว-กัมพูชา) และ 6) เส้นทางรถไฟพระวิหาร จําปาสัก-อัตตะปือ รัตนคีรี (ชายแดนลาว-กัมพูชา)
การสื่อสารโทรคมนาคม
ลาวใช้รหัสโทรศัพท์ประเทศ +856 โดยมีผู้ใช้บริการโทรศัพท์ขั้นพื้นฐานประมาณ 1.3 ล้านเลขหมาย (ปี 2564) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ 6.45 ล้านเลขหมาย คิดเป็น 85.19% ของประชากรทั้งหมด ส่วนรหัสอินเทอร์เน็ตใช้ la มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต 4.7 ล้านคน คิดเป็น 62% ของประชากร ลาวมีผู้ใช้โซเชียล มีเดีย 3.35 ล้านคน คิดเป็น 44.2% ของประชากรทั้งหมด แอปพลิเคชันยอดนิยม ได้แก่ Facebook Instagram และ Twitter ตามลําดับ (ปี 2565)