การทหาร

กองทัพประชาชนลาว (ทปล.) ขึ้นตรงต่อกระทรวงป้องกันประเทศ (เทียบเท่า กระทรวงกลาโหม) โดยมีพรรค ประชาชนปฏิวัติลาวเป็นผู้ชี้นํา และกําหนดนโยบายป้องกันประเทศ ทปล. มีกําลังพลทั้งสิ้น 62,600 นาย ประกอบด้วย กําลังทางบก 58,000 นาย กําลังทางอากาศ 4,000 นาย กําลังทางเรือ (ปัจจุบันขึ้นตรงต่อ กระทรวงป้องกันความสงบ (ปกส.) ประมาณ 600 นาย ทั้งยังมีกําลังกึ่งทหารกองหลอนมากกว่า 100,000 นาย

กําลังทางบก แบ่งออกเป็น 1) กําลังรบหลัก (ทหารประจําการ) ประมาณ 35,000 นาย ทําหน้าที่ รักษาความมั่นคงปฏิบัติงานทุกพื้นที่ และ 2) กําลังประจําถิ่นประมาณ 23,000 นาย เป็นกําลังเคลื่อนที่เร็วของ ท้องถิ่น ใช้กองหลอนเป็นผู้นํา ปัจจุบันมี 17 บก. ทหารแขวง 1 บก. ทหารนครหลวง และกรมทหารชายแดน (กทค.) เพื่อเป็นกลไกสําคัญในการรักษาอธิปไตยทั้งเขตแดนทางบก และทางน้ำ ปัจจุบัน ทปล. ส่งเสริมความ ร่วมมือด้านการทหารกับกองทัพรัสเซียในการฝึกร่วมกับรัสเซีย รหัส “LAROS-2022” เมื่อ พ.ย. 2565 ที่แขวง เชียงขวาง ลาว การฝึกร่วมกับจีน รหัส “โล่กําบังมิตรภาพ” (Friendship Shield-2023) ที่ลาว และการฝึกร่วม เพื่อมนุษยธรรมกับประเทศพันธมิตรอื่น ๆ เช่น เวียดนาม และกัมพูชา

ยุทโธปกรณ์ที่สําคัญ : ปพ. 6.33 มม. (MAKAROF) ปลย.AK-47 ปตอ. 12.7 มม. ปตอ.37-2 จรวดสแตนล่า ถ.T-34 ถ.T-72 B1MS ยานยนต์หุ้มเกราะ BTR-152 ป.85 D4 ป. อัตตาจร ขนาด 152 มม. จรวดหลายลํากล้อง BM-21 (40 ท่อยิง) บ.ฝึก/โจมตีขนาดเบา Yak-130 และ ฮ. ลําเลียง รวมทั้งเรือตรวจการณ์ ในแม่น้ำโขงซึ่งได้รับมอบจากจีนตามแผนปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยในแม่น้ำโขง

ปัญหาด้านความมั่นคง

ปัญหาความมั่นคง สปป. ลาว
Photo : Human Rights Watch

ลาวยังมีปัญหาการปักปันเขตแดน และพื้นที่ทับซ้อนทั้งทางบก และทางน้ํากับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกับไทย และกัมพูชา ไทย การปักปันเขตแดนทางบกคืบหน้ามากกว่า 96% ขณะที่เขตแดนทางน้ํา ยังไม่สามารถเริ่มดําเนินการได้ กัมพูชา การปักปันเขตแดนทางบกคืบหน้า 86% มีพื้นที่คงค้างกว่า 9 แห่ง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังเน้นแนวทางการหารือเพื่อแก้ไขปัญหาชายแดนอย่างสันติวิธี โดยส่งเสริมพื้นที่ชายแดน เป็นชายแดนแห่งสันติภาพ

ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ อาทิ ยาเสพติด การค้ามนุษย์  และขบวนการหลอกลวงทาง โทรศัพท์ โดยเฉพาะปัญหายาเสพติดที่มีแนวโน้มรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ลาวเป็นประเทศทางผ่าน (ยาบ้า ไอซ์ และเฮโรอีนจากเมียนมา) แหล่งพักคอย และปลายทางของขบวนการลักลอบค้ายาเสพติด รวมถึงเป็นเส้นทาง ลําเลียงสารตั้งต้นเข้าสู่พื้นที่ผลิตในสามเหลี่ยมทองคํา และลําเลียงผ่านไปยังประเทศที่ 3 ทั้งไทย เวียดนาม กัมพูชา ออสเตรเลีย และไต้หวัน โดยเฉพาะหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 คลี่คลาย

ปัญหาขบวนการต่อต้านรัฐบาลลาว (ขตล.) หรือ “กลุ่มคนบ่ดี” ที่บางส่วนอาจลักลอบใช้พื้นที่ ชายแดนไทยเป็นทางผ่านหรือหลบซ่อนตัว นอกจากนี้ พบการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลลาวใน ต่างประเทศ ทั้งในไทย ยุโรป และสหรัฐฯ โดยกลุ่มเหล่านี้เคลื่อนไหวโจมตีรัฐบาลลาวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ลักษณะวิพากษ์วิจารณ์ และเสียดสีรัฐบาลลาว ในประเด็นการจํากัดสิทธิการแสดงความเห็นทางการเมือง การใช้ความรุนแรงต่อนักเคลื่อนไหว การทุจริต การเอื้อประโยชน์ให้จีน รวมถึงความไร้เสถียรภาพ ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และความเหลื่อมล้ําในสังคมลาว

ปัญหาผลกระทบจากการพัฒนาโครงการเขื่อนในแม่น้ําโขง ลาวยังยึดมั่นในเป้าหมายการเป็น ผู้ผลิต และส่งออกกระแสไฟฟ้าของภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง โดยผลักดันการก่อสร้างเขื่อนในแม่น้ําโขงให้เป็นไป ตามแผน อาทิ เขื่อนปากแบง เขื่อนปากลาย เขื่อนหลวงพระบาง และเขื่อนซะนะคาม ซึ่งสร้างความกังวลให้ ประชาชนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขงต่อผลกระทบข้ามแดน และประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม

Share.
Exit mobile version