เศรษฐกิจ

ลาวปฏิรูปเศรษฐกิจสู่ระบบกลไกตลาดตามนโยบายจินตนาการใหม่ (New Economic Mechanism-NEM) ตั้งแต่ปี 2529 เน้นเปิดประเทศรับการลงทุนจากต่างประเทศ ส่งเสริมการค้าเสรี เป้าหมายสําคัญเพื่อให้หลุดพ้นจากสถานะการเป็นประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries-LDCs) ภายในปี 2569 และเป็นประเทศพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี 2573 ทิศทางการขับเคลื่อนประเทศ คือการเป็นผู้ผลิต และส่งออกพลังงานไฟฟ้าของภูมิภาค (Battery of Asia) การเป็นศูนย์กลางความเชื่อมโยงในภูมิภาค (Land-linked country) ปัจจุบัน ลาวใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ระยะ 5 ปี ฉบับที่ 9 (ปี 2564-2568) รัฐบาลกําหนดชัดเจนในการส่งเสริมกสิกรรม อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และการบริการ และให้ GDP ขยายตัวเฉลี่ยอย่างน้อย 4% ต่อปี

ปัญหาทางเศรษฐกิจของลาว อาทิ การขาดดุลงบประมาณภาครัฐ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง ทุนสํารองเงินตราระหว่างประเทศจํากัด หนี้สาธารณะสูง อัตราเงินเฟ้อ และค่าครองชีพสูง เงินกีบอ่อนค่า การขาดแคลนเชื้อเพลิง รวมถึงภาคการผลิตภายในประเทศยังไม่เข้มแข็ง ซึ่งรัฐบาลลาวมีมาตรการส่งเสริม และแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เช่น การปรับผู้นํารัฐบาล การจัดตั้งคณะทํางานแก้ไขปัญหาเฉพาะกิจ การจําหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มาตรการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ํา การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการรายรับ และรายจ่าย ของรัฐ เข้มงวดโครงการลงทุนของภาครัฐ โดยกํากับให้ทําธุรกรรมผ่านธนาคารพาณิชย์ของลาว การส่งเสริมการผลิตภายในประเทศ และลดการนําเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เป็นต้น

  • สกุลเงิน ตัวย่อสกุลเงิน : กีบ (LAK)
  • อัตราแลกเปลี่ยนต่อดอลลาร์สหรัฐ : ประมาณ 20,480 กีบ : 1 ดอลลาร์สหรัฐ (ต.ค. 2566)
  • อัตราแลกเปลี่ยนต่อบาท : ประมาณ 575 กีบ : 1 บาท (ต.ค. 2566)

ดัชนีเศรษฐกิจสําคัญ

ถนนสู่ประตูชัย
  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) : 15,720 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ : 2.79% (ปี 2565) และคาดว่าจะเป็น 3.9% ในปี 2566
  • รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี : 2,088 ดอลลาร์สหรัฐ
  • แรงงาน : 2.5 ล้านคน
  • อัตราการว่างงาน : 2.6%
  • อัตราเงินเฟ้อ : 23%
  • ดุลการค้าระหว่างประเทศ : เกินดุลประมาณ 954 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • มูลค่าการส่งออก : 8,198 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • สินค้าส่งออก : พลังงานไฟฟ้า แร่ธาตุ (ทองคํา ทองแดง สังกะสี เงิน และถ่านหิน) สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากไม้ ไม้แปรรูป และเครื่องอุปโภคบริโภค
  • คู่ค้าส่งออกที่สําคัญ : จีน เวียดนาม และไทย
  • มูลค่าการนําเข้า : 7,244 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • สินค้านําเข้า : น้ำมันเชื้อเพลิงสําเร็จรูป เครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ และส่วนประกอบ
  • คู่ค้านําเข้าที่สําคัญ : ไทย จีน และเวียดนาม
Share.
Exit mobile version