การเมือง
ฝ่ายบริหาร : ประกอบด้วย 1) ประธานประเทศ ดํารงตําแหน่งประมุขรัฐ และจอมทัพ วาระ 5 ปี มีหน้าที่ลงนามประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และกฎหมายแต่งตั้ง/ถอดถอน นรม. และ ครม. รวมทั้งเจ้าแขวง และตําแหน่งสําคัญในกองทัพ โดยคําแนะนําของ นรม. ให้สัตยาบันหรือยกเลิกสัญญาที่ทํากับรัฐอื่นโดยความเห็นชอบ จากสภาแห่งชาติ โดยทั่วไปประธานประเทศเป็นบุคคลเดียวกับผู้นําพรรค ปัจจุบัน คือ ดร. ทองลุน สีสุลิด และ 2) ครม. มีหน้าที่บริหารประเทศตามนโยบายพรรคฯ ครม. ชุดปัจจุบันจัดตั้งเมื่อ มี.ค. 2564 มี ดร. สอนไซ สีพันดอน (สมาชิกกรมการเมืองอันดับ 5) เป็น นรม. (ได้รับการแต่งตั้งเมื่อ 30 ธ.ค. 2565 ต่อจาก นายพันคำ วิพาวัน ซึ่งประกาศลาออกในวันเดียวกัน)
ฝ่ายนิติบัญญัติ : ระบบสภาเดียว คือ สภาแห่งชาติ สมาชิก 164 คน มาจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 21 ก.พ. 2564 วาระ 5 ปี (พ.ศ. 2564-2569) ประชุมสามัญปีละ 2 ครั้ง มีหน้าที่ออกกฎหมาย แก้ไขรัฐธรรมนูญ ตรวจสอบการทํางานของรัฐบาล และฝ่ายตุลาการ รับรองแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และงบประมาณตามรัฐธรรมนูญ การแต่งตั้งประธานประเทศ นรม. ครม. ประธานสภา และอัยการประชาชนสูงสุด จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาแห่งชาติ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญลาวฉบับปี 2558 ระบุให้มีสภาประชาชน ระดับแขวง (สมาชิก 492 คน) ทําหน้าที่พิจารณา รับรองนิติกรรมที่สําคัญของท้องถิ่น ติดตามตรวจตราการ ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายขององค์กรระดับท้องถิ่น
ฝ่ายตุลาการ : ประกอบด้วย ศาลประชาชนสูงสุด และอัยการประชาชนสูงสุด ระบบศาลมี 3 ชั้น คือ ศาลประชาชนเขต หรือศาลชั้นต้น ศาลประชาชนแขวง/นครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งทําหน้าที่เป็นทั้งศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ และศาลประชาชนสูงสุดหรือศาลฎีกา