เมืองหลวง
นครหลวงเวียงจันทน์
ที่ตั้ง
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างเส้นละติจูดที่ 14-23 องศาเหนือ กับลองจิจูดที่ 100- 108 องศาตะวันออก เวลาเร็วกว่าเวลามาตรฐานกรีนิช 7 ซม. (เช่นเดียวกับไทย) มีพื้นที่ประมาณ 236,800 ตร.กม. (ประมาณครึ่งหนึ่งของไทย) เป็นพื้นดิน 230,800 ตร.กม. พื้นน้ํา 6,000 ตร.กม. ลาวเป็นประเทศไม่มี ทางออกสู่ทะเล ชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ มีแม่น้ําโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดนกับไทย และเมียนมา
อาณาเขต
- ทิศเหนือ : ติดกับจีน 508 กม.
- ทิศใต้ : ติดกับไทย 1,835 กม. และกัมพูชา 535 กม.
- ทิศตะวันออก : ติดกับเวียดนาม 2,337 กม.
- ทิศตะวันตก : ติดกับเมียนมา 236 กม.
ภูมิประเทศ

แบ่งออกเป็น 3 เขต คือ เขตภูเขาสูง อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ เขตที่ราบสูง พื้นที่ ตอ.ต. ของประเทศ มีที่ราบสูงขนาดใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่ ที่ราบสูงเมืองพวน ที่ราบสูงนากาย และที่ราบสูงบอละเวน และ เขตที่ราบลุ่ม เป็นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่น้ําโขง และแม่น้ำต่าง ๆ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ลาวมีแม่น้ําโขงเป็นแม่น้ําสําคัญ ระยะทาง 1,898 กม. มีความสําคัญทั้งด้านเกษตรกรรม ประมง การผลิต กระแสไฟฟ้า การคมนาคม และเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างลาวกับเพื่อนบ้าน
ภูมิอากาศ
ตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น อากาศเปลี่ยนแปลงตามพื้นที่ ทางตอนเหนือมีลักษณะเป็นเทือกเขาสูง อากาศค่อนข้างหนาวถึงหนาวจัด ทางตอนใต้ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและที่ราบ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม จากทะเลจีนใต้อากาศจึงค่อนข้างอบอุ่น ภูมิอากาศลาวแบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ระหว่าง มี.ค.-พ.ค. อากาศ ร้อนและแห้งแล้ง อุณหภูมิเฉลี่ย 29-30 องศาเซลเซียส แต่อาจขึ้นสูงถึง 40 องศาเซลเซียสใน เม.ย. ฤดูฝน ระหว่าง พ.ค.-พ.ย. อากาศร้อนอบอ้าว มีฝนตกชุก อุณหภูมิเฉลี่ย 25-30 องศาเซลเซียส และ ฤดูหนาว ระหว่าง พ.ย.-มี.ค. อากาศค่อนข้างแห้งแล้ง อุณหภูมิเฉลี่ย 10-15 องศาเซลเซียส
ประชากร

ประมาณ 7.58 ล้านคน (ปี 2565) ประกอบด้วย 50 ชนเผ่า ทางการลาวใช้คํากลางเรียกคนลาวทั่วไป ว่า “คนสัญชาติลาว ชนเผ่าลาว” ความหนาแน่น 30 คนต่อ ตร.กม. ประชากรจําแนกตามอายุ : วัยเด็ก (0-14 ปี) 36.7396 วัยรุ่นถึงวัยกลางคน (15-64 ปี) 59.57% และวัยชรา (65 ปีขึ้นไป) 3.7% อายุขัยเฉลี่ยของประชากร ประมาณ 62 ปี (ปี 2565) อัตราการเติบโตของประชากร 1.66% (ปี 2565)
ศาสนา
ศาสนาพุทธ 66% นับถือผี (Animism)/ความเชื่อดั้งเดิม 30.8% คริสต์ 1.59% และอื่น ๆ 1.796%
ภาษา
ภาษาลาวเป็นภาษาราชการ ชนเผ่าใช้ภาษาประจําเผ่าควบคู่กับภาษาลาว ยังคงใช้ภาษาฝรั่งเศส ในวงราชการ และการค้า สําหรับการศึกษาภาษาอังกฤษ และภาษาจีนมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น และนิยมใช้ในการติดต่อกับต่างประเทศ และการค้า
การศึกษา
อัตราการรู้หนังสือ 79.86% (ปี 2565) งบประมาณด้านการศึกษา 2.3% ของ GDP (ปี 2563) การศึกษาภาคบังคับ 5 ปีในระดับประถมศึกษา ส่วนระบบการศึกษา แบ่งเป็น ระดับประถมศึกษา 5 ปี มัธยมศึกษาตอนต้น 4 ปี และมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี ส่วนระดับอุดมศึกษา 4 ปี สําหรับระดับวิชาชีพ ชั้นกลาง 2 ปี และชั้นสูง 3 ปี มีมหาวิทยาลัย ทั้งสิ้น 5 แห่ง และวิทยาลัย 39 แห่ง