หนังสือ “คดี ๖ ตุลาคม” นี้ ข้าพเจ้าผู้รวบรวมมีความบันดาลใจที่จะได้รวบรวมหลักฐานพยานซึ่งเป็นข้อเท็จจริงในคดีขึ้น เพราะเห็นว่าเป็นคดีที่ประชาชนได้ให้ความสนใจ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ข้าพเจ้าเห็นว่าหากได้รวบรวมไว้เสียในที่เดียวก็จะสะดวกแก่การตรวจสอบของผู้ที่สนใจ โดยที่คดีนี้เป็นคดีประวัติศาสตร์และอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล การรวบรวมนี้ ข้าพเจ้าจึงยึดเอาคำฟ้อง คำให้การบรรดาที่ศาลทหารกรุงเทพ (ใช้กฎ ๖ ตุลาดม ๒๕๑๘) ได้บันทึกไว้เป็นหลัก โดยไม่สอดใส่ความเห็นส่วนตัวเข้าไปในเนื้อหาด้วย.
ภาคที่ ๑ เป็นการแนะนำให้รู้จักกับจำเลยในคดีนี้ ๘ คน กับนายบุญชาติ เสถียรธรรมณี จำเลยในคดีที่เกี่ยวเนื่องกับคดี 6 ตุลาคมอีกคนหนึ่ง ซึ่งถูกฟ้องต่อศาลอาญา
ภาคที่ ๒ เป็นคำฟ้อง คำให้การและคำร้องในคดีนี้
ภาคที่ ๓ เป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ ๓ คนแรก
ภาคที่ ๔ เป็นคำร้องเรียนขอให้นิรโทษกรรมแก่คุณสุธรรม แสงประทุมกับ เพื่อนๆ
ภาคที่ ๕ ของหนังสือนี้ เป็นบทว่าด้วยคำสั่งและกฎหมายบรรดาที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้
ข้าพเจ้าหวังว่า หนังสือนี้คงจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้สนใจและเป็นบันทึกประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของชาติไทยของเรา.
ข้าพเจ้าตั้งความหวังว่า ต่อจากเล่ม ๑ นี้ คงจะมีผลการพิจารณาคดีรวบรวมเสนอต่อท่านต่อไปอีก ดังนั้น จึงขอกราบขอบพระคุณที่ท่านมีเมตตาจิตต่อคุณสุธรรม และเพื่อนมา ณ โอกาสนี้.
ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
ธวัช สุจริตวรกุล
พิมพ์ครั้งแรก: กรกฎาคม 2521
พิมพ์ที่: บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด 70 ถนนราชบูพิธ กทม. โทร. 2225555 นายยอดยิ่ง โสภณ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา
คำอุทิศ
แด่วีรชน ๑๔ ตุลา และ ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ ๖ ตุลา. ๑๙
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ประเทศไทยให้สัตยาบันรับรองปฏิญญานี้และมีการเฉลิมฉลอง ทุกปีเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม อันเป็นวันสิทธิมนุษยชนเวียนมาบรรจบครบรอบ
ข้อ ๑๐. ทุกคน มีสิทธิโดยเสมอภาคเต็มที่ในอันที่จะได้รับการพิจารณาที่เป็นธรรมและเปิดเผยจากศาลที่อิสระ และเที่ยงธรรม ในการกําหนดสิทธิและหน้าที่ของตนและการกระทําผิดอาญาใด ๆ ที่ถูกกล่าวหา
ข้อ ๑๑. (๑) ทุกคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดทางอาญามีสิทธิที่จะได้รับการ สันนิษฐานไว้ว่าบริสุทธิ์ จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดตามกฎ หมายในการพิจารณาเปิดเผย ซึ่งตนได้รับหลักประกันบรรดาที่จําเป็น สําหรับการต่อสู้คดี
(๒) จะถือบุคคลใด ๆ ว่ามีความผิดทางอาญาเนื่องด้วยการกระทํา หรือละเว้นใด ๆ อันมิได้จัดเป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมายแห่ง ชาติหรือกฎหมายระหว่างประเทศในขณะได้กระทําการนั้นไม่ได้ และจะลงโทษอันหนักกว่าที่ใช้อยู่ ในขณะที่ได้กระทําความผิดทาง อาญานั้นไม่ได้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๗
รัฐธรรมนูญนี้ ใช้บังคับอยู่ขณะเกิดเหตุคดีนี้และได้ถูกยกเลิกไปเมื่อคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินยึดอํานาจการปกครองแผ่นดิน เวลา ๑๗.๐๐ น. วันที่ 5 ตุลาคม ๒๕๑๕)
หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชาวไทย
มาตรา ๔๓ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
การจํากัดเสรีภาพเช่นว่านี้ จะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะการรบหรือการสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
มาตรา ๔๔ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ หรือหมู่คณะอื่น
การจํากัดเสรีภาพเช่นว่านี้ จะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันมิให้มีการผูกขาดตัดตอนในทางเศรษฐกิจ
หมวด ๘ ศาล
มาตรา ๒๐๔ การตั้งศาลขึ้นใหม่เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่ง หรือที่มี ข้อหาฐานใดฐานหนึ่งโดยเฉพาะ แทนศาลธรรมดาที่มีอยู่ตามกฎหมายสําหรับพิจาร ณาพิพากษาคดีนั้น จะกระทํามิได้
มาตรา ๒๐๕ การบัญญัติกฎหมายให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขเพิ่ม เติมกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลหรือวิธีพิจารณา เพื่อใช้แก่คดีใดคดีหนึ่งโดยเฉพาะ จะกระทํามิได้