การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วยกัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทยสามารถดำเนินการที่สถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศได้ กรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งเป็นคนสัญชาติลาว การจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยจะใช้บังคับใน สปป. ลาวไม่ได้ ดังนั้น หากต้องการให้การสมรสถูกต้องตามกฎหมาย สปป. ลาว ต้องดำเนินการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย และระเบียบของ สปป.ลาว เท่านั้น

เมื่อจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย สปป. ลาว แล้ว สามารถติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อรับรองเอกสารการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย สปป. ลาว สำหรับยื่นขอบันทึกฐานะแห่งครอบครัวในประเทศไทยเพื่อรับรองการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายลาวสำหรับใช้ในประเทศไทยต่อไป

1.1 คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส

  • ชาย หรือหญิงมีอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์ กรณีมีเหตุอันควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนที่ชาย และหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ได้
  • ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
  • ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
  • ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
  • ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
  • หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
    • คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
    • สมรสกับคู่สมรสเดิม
    • มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
    • ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
    • มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้
  • ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจให้ความยินยอมได้ตามกฎหมาย

1.2 เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นขอจดทะเบียนสมรส  

คู่สมรสเป็นบุคคลสัญชาติไทย

  1. คำร้องขอจดทะเบียนสมรส (ดาวน์โหลด)
  2. บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง
  3. ทะเบียนบ้าน
  4. หนังสือรับรองความเป็นโสด ที่ออกโดยเขตหรืออำเภอไม่เกิน 6 เดือน
  5. หนังสือให้ความยินยอม (กรณีผู้ร้องยังไม่บรรลุนิติภาวะ และผู้มีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย)
  6. ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (กรณีเคยเปลี่ยนชื่อ-สกุล)
  7. สูติบัตร หรือทะเบียนบ้านของบุตร (กรณีมีบุตรด้วยกันมาก่อน)
  8. ใบสำคัญการหย่าหรือใบทะเบียนฐานะครอบครัวหย่า (กรณีเคยจดทะเบียนสมรสและได้จดทะเบียนหย่าแล้ว)

คู่สมรสเป็นคนสัญชาติลาว

  1. หนังสือรับรองคุณสมบัติเหมาะสม หรือมีเสรีภาพในการสมรส ซึ่งออกโดยทางการ สปป. ลาว (หนังสือรับรองความเป็นโสด หรือ แบบฟอร์ม ใบยั่งยืนสถานภาพของบุคคล)
  2. บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง
  3. ทะเบียนบ้าน หรือรายละเอียดที่อยู่
  4. หนังสือให้ความยินยอม (กรณีผู้ร้องยังไม่บรรลุนิติภาวะ และผู้มีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย)
  5. ใบสำคัญการหย่า (กรณีเคยจดทะเบียนสมรส และได้จดทะเบียนหย่าแล้ว)
  6. หนังสือรับรองความประพฤติ
  7. ใบรับรองแพทย์

หมายเหตุ: เอกสารภาษาลาวต้องแปลเป็นภาษาไทย และนำไปให้กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ สปป. ลาวรับรอง

คู่สมรสเป็นต่างชาติที่ไม่ใช่สัญชาติลาว

  1. หนังสือรับรองความเป็นโสด ซึ่งออกโดยทางการของประเทศผู้ร้อง
  2. บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง
  3. ทะเบียนบ้าน หรือรายละเอียดถิ่นพำนัก
  4. หนังสือรับรองความประพฤติ
  5. ใบรับรองแพทย์
  6. หนังสือให้ความยินยอม (กรณีผู้ร้องยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้มีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย)
  7. ใบสำคัญการหย่า (กรณีเคยจดทะเบียนสมรสและได้จดทะเบียนหย่าแล้ว)

หนังสือรับรองความเป็นโสด ควรเป็นหนังสือซึ่งออกโดยทางการของประเทศที่ผู้ร้องมีสัญชาติ และผ่านการรับรองโดยกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ สปป. ลาว

  1. ให้สถานเอกอัครราชทูตของประเทศผู้ร้องประจำ สปป. ลาว รับรอง และนำไปให้กระทรวงการต่างประเทศ สปป. ลาว รับรองลายเซ็นของเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตประเทศผู้ร้องประจำ สปป. ลาว
  2. หากกระทรวงการต่างประเทศ สปป. ลาว ไม่สามารถรับรองลายเซ็นของเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตของประเทศผู้ร้องประจำ สปป. ลาว ได้ อาจขอให้สถานเอกอัครราชทูตดังกล่าวติดต่อมาที่สถานเอกอัครราชทูตไทยเพื่อส่งตัวอย่างลายเซ็นของเจ้าหน้าที่
  3. หากไม่สามารถดำเนินการตามข้อ 1 และ 2 ได้ หรือหากประเทศของผู้ร้องไม่มีสถานเอกอัครราชทูต
    ใน สปป. ลาว สามารถให้สถานเอกอัครราชทูตประเทศผู้ร้องประจำประเทศไทยรับรองหนังสือรับรองสถานภาพโสดและนำไปให้กรมการกงสุลของกระทรวงการต่างประเทศไทยรับรองลายเซ็นของเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตประเทศผู้ร้องประจำประเทศไทย และสามารถจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทยหรือที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์ ได้

หมายเหตุ

  • ไม่มีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการจดทะเบียนสมรส
  • ค่าธรรมเนียมในการรับรองเอกสารจากสถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ อัตรา 600 บาท/ตราประทับ
  • ในวันที่จดทะเบียนสมรส คู่สมรสจะต้องนำพยาน (บุคคลที่รู้จัก สัญชาติใดก็ได้) มาด้วย 2 คน (พยานต้องนำหนังสือเดินทางหรือบัตรประจำตัวประชาชน กรณีคนไทย มาแสดง) ถ้าเป็นคนต่างชาติให้ถือหนังสือเดินทางมาแสดง

  1. การจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย สปป. ลาว

บุคคลสัญชาติไทยมีความประสงค์จดทะเบียนสรมรสกับคนลาวจะต้องเตรียมเอกสารตามแบบฟอร์มที่กำหนดในกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่าด้วยการจดทะเบียนสมรสระหว่างพลเมืองลาว กับคนต่างประเทศของ สปป. ลาว ให้ครบถ้วน

เอกสารที่คู่สมรสฝ่ายไทยต้องเตรียม

  1. คำร้องขอจดทะเบียนสมรส
  2. ประวัติ
  3. ใบรับรองมีถิ่นที่อยู่
  4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง ทะเบียนบ้าน ที่ผ่านการรับรองโดยกรมการกงสุลกระทรวงการต่างประเทศ (ถนนแจ้งวัฒนะ)
  5. หนังสือรับรองความเป็นโสด (ออกให้โดยเขตหรืออำเภอ) และที่ผ่านการรับรองโดยกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (ถนนแจ้งวัฒนะ) และรับรองอีกครั้งโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์
  6. หนังสือรับรองสุขภาพ (ออกให้โดยโรงพยาบาล)
  7. หนังสือรับรองความประพฤติ (ออกให้โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) ที่ผ่านการรับรองลายเซ็นของเจ้าหน้าที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (ถนนแจ้งวัฒนะ) และรับรองอีกครั้งโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์
  8. หนังสือแจ้งทรัพย์สิน หรือหนังสือรับรองเงินเดือน (ออกให้โดยบริษัทหรือหน่วยงานที่ทำงาน)
  9. หนังสือให้ความยินยอม (กรณีผู้ร้องยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้มีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย)
  • หนังสือหมั้นหมายสู่ขอ
  • รูปขนาด 3 x 4 จำนวน 6 รูป
  • หนังสือรับประกันการส่งตัวคนลาวกลับประเทศตามจุดประสงค์กรณีมีการหย่า ได้รับการรับรองจากกรมการกงสุลกระทรวงการต่างประเทศ (ถนนแจ้งวัฒนะ)
  • หนังสือรับรอง (To whom it may concern) จากสถานทูตฯ หรือกงสุลไทย
  • ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (กรณีเคยเปลี่ยนชื่อ-สกุล)
  • สูติบัตรหรือทะเบียนบ้านของบุตร (กรณีมีบุตรด้วยกันมาก่อน)
  • ใบสำคัญการหย่า (กรณีเคยจดทะเบียนสมรสและได้จดทะเบียนหย่าแล้ว)

หมายเหตุ เอกสารที่ยื่นต่อทางการ สปป. ลาว ต้องแปลเป็นภาษาลาวและผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เรียบร้อย

อ้างอิง สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์

Share.
Exit mobile version