- Version
- Download 28
- File Size 11.89 MB
- File Count 1
- Create Date สิงหาคม 20, 2023
- Last Updated ตุลาคม 17, 2024
ไม้แกะสลัก สองฝั่งโขง ไทย-ลาว
ไม้เป็นวัตถุดิบที่มีทั่วไปในแถบลุ่มน้ำโขง ผู้คนแถบลุ่มน้ำโขงได้เรียนรู้การนำไม้มาใช้ประโยชน์ในวิถีชีวิตมากมาย นับตั้งแต่สร้างที่อยู่อาศัย สร้างเครื่องมืออุปกรณ์ทำมาหากิน สร้างสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องดนตรี รวมทั้งสิ่งของที่เป็นสัญลักษณ์ ความเชื่อ ความศรัทธา ในอดีตถือว่าไม้คือวัตถุดิบ ที่สามารถแปรสภาพได้มากที่สุด ในปัจจุบันไม้ได้ ถูกทดแทนด้วยวัสดุที่หลากหลาย เช่น โลหะ ปูน พลาสติก และวัสดุสังเคราะห์ต่างๆ การใช้วัสดุทดแทน เหล่านี้ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลก ซึ่งเป็นเหตุเป็นผลที่ต้องยอมรับ
ในมุมมองของงานศิลปะ ไม้ที่ผู้คนในอดีต เคยสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ไม่ได้มีคุณค่าเพียงวัตถุสิ่งของ แต่ไม้ที่ผ่านการสร้างสรรค์ผลงานเป็นอารมณ์ เป็นความรู้สึกของผู้สร้างที่เพียรพยายามถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดในแต่ละช่วงอารมณ์ และช่วงยุคสมัย ผ่านวัตถุ สร้างความเป็นรูปธรรมที่สามารถรับรู้ได้ อาจกล่าวได้ว่า ความคิด ความเชื่อ ในแต่ละยุคสมัย สามารถเรียนรู้ได้จากวัตถุสิ่งของที่สร้างขึ้น
ความคิดสร้างสรรค์ที่ถูกถ่ายทอดผ่านงานไม้ โดยส่วนใหญ่ มักสะท้อนให้เห็นถึงรูปทรง ลวดลาย และกลไก ที่สามารถตอบสนองทั้งทางกาย และจิตใจของมนุษย์ ด้วยวิธีการสร้างง่ายๆ เช่น การถาก การขุด การเหลา จนกระทั่งวิธียากๆ เช่น การแกะ การฉลุ การขัด และการลงสีผิวด้วยวิธีการต่างๆ
การศึกษางานไม้ในครั้งนี้ ผู้เขียนได้เล็งเห็นว่า ความคิดสร้างสรรค์บนเนื้อไม้เหล่านี้ คือ ตำราที่ผู้คนในอดีตได้ฝากเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ และตำรานี้ นับวันจะผุกร่อนตามอายุขัยไม่ค่อยมีคนดูแลรักษา และปัจจุบันได้เลิกผลิตแบบเดิมแล้ว มีการผลิตแบบใหม่ที่ต่างจากเดิม
แม่น้ำโขงถือเป็นแหล่งอารยธรรมแห่งเอเชีย งานศิลปะมากมายมีรูปลักษณ์เป็นของตนเอง งานไม้แกะสลักเป็นหนึ่งในงานศิลปะ ในอดีตมีการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะแขนงนี้มากมายทั้งสองฟากฝั่ง การบันทึกศึกษาในครั้งนี้เป็นการสืบสานในเชิงคุณค่า เพื่อไม่ให้เกิดการสูญหาย
สำหรับหนังสือนี้เป็นการจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 ซึ่งมีการปรับปรุงแก้ไขคำพิมพ์ผิด จากการจัดพิมพ์ครั้งที่ 1 และ และเพิ่มเติมบทความทางวิชาการที่มีการเผยแพร่ระดับนานาชาติในภาคผนวก ข
ผู้เขียนเชื่อว่า ความยากลำบากที่ต้องเดินทางนับพันกิโลเมตร ในเวลา 3 ปี เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านที่เห็นคุณค่า และหวังใจว่า จะมีการศึกษาต่อยอด
ต่อไป เพราะยังมีงานไม้แกะสลักอีกจำนวนมากที่ยังรอคอยการบันทึกศึกษา
ศักดิ์ชาย สิกขา / ผู้เขียน
ไม้แกะสลัก สองฝั่งโขง : ไทย -ลาว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชาย สิกขา
Email: Sakchaiubu@homail.com
คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ
ศักดิ์ชาย สิกขา. 2554. ไม้แกะสลัก สองฝั่งโขง : ไทย-ลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2
อุบลราชธานี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 158 หน้า.
1. ไม้แกะสลัก 2. แม่น้ำโขง
จัดพิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนกันยายน พ.ศ. 2553 จำนวน 500 เล่ม
จัดพิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุง) เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 จำนวน 200 เล่ม
คณะทำงานร่วมเก็บรวบรวมข้อมูล
ดร. ประทับใจ สิกขา
เสกสันต์ ศรีสันต์
ประสิทธิ์ พวงบุตร
จารุสิทธิ์ เครือจันทร์
ศุภลักษณ์ มาคูณตน
และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ
จัดทำโดย: โครงการ การศึกษาเปรียบเทียบศิลปะไม้แกะสลัก แถบลุ่มน้ำโขงของไทย และ สปป.ลาว กองส่งเสริมการวิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553
พิมพ์ที่: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เลขที่ 85 ถนนสถลมาร์ ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 34190
Attached Files
File | Action |
---|---|
ไม้แกะสลัก สองฝั่งโขง ไทย-ลาว.pdf | Download |