- Version
- Download 69
- File Size 22.14 MB
- File Count 1
- Create Date ส.ค. 20, 2023
- Last Updated ต.ค. 17, 2024
ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ
ความเป็นมาของคำสยาม ฯ เป็นผลงานเขียนชิ้นสุดท้ายของ จิตร ภูมิศักดิ์ และเป็นผลงานที่ใช้การค้นคว้าและวิเคราะห์ทางวิชาการอย่างยอดเยี่ยมที่สุด ถ้าจะดูจากเนื้อหาของมัน, จิตร ภูมิศักดิ์คงจะใช้ระยะเวลานานมากที่จะเขียนงานชั้นนี้ออกมาอย่างละเอียดลออ กระนั้นก็ตามงานชั้นนี้ก็ยังเป็นงานที่ยังไม่เสร็จ (ดังที่ท่านผู้อ่านจะเห็นได้จากสารบัญ)
งานเขียนส่วนใหญ่ของจิตร ภูมิศักดิ์ ไม่ว่าจะเป็นงานทางด้านประวัติศาสตร์, วรรณคดี, งานแบ่ล และกวีนิพนธ์ (ร้อยกรองในลักษณะต่างๆ และเพลง) เขียนขึ้นในช่วงที่เขาเป็นนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ทั้งในที่ศึกษาอยู่ และในตอนที่ถูกพักการเรียน (2493-2500) และช่วงที่ถูกจองจำที่คุกลาดยาว (2501-2507) ช่วงเวลาของการทำงานทางด้านปัญญา และวิชาการของจิตร ภูมิศักดิ์มีไม่มากนัก แต่จำนวนของผลงานที่ปรากฏออกมาก็นับได้ว่าน่าทึ่งอย่างยิ่ง (ตู "งานของจิตร ภูมิศักดิ์ เท่าที่คันพบในปัจจุบัน" อักษรศาสตร์พิจารณ์ ๓:๑๑-๑๒ เมษายน-พฤษภาตม ๒๕๑๙) จิตร ภูมิศักดิ์ถูกปล่อยออกจากคุกในบี 2507 และต่อมาในบี 2508 เขาก็จากเมืองเข้าสู่ป่าเพื่อทำการต่อสู้ในแนวทางของเขา จิตร ภูมิศักดิ์ ถูกยิงสิ้นชีวิตในเขตเทือกเขาภูพาน เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๐๙ เมื่ออายุได้ ๓๖ ปี
จิตร ภูมิศักดิ์คงจะเรีมเขียน ความเป็นมาของคำสยาม ฯ ในช่วง ๖ มีของการถูกจองจำ ณ ที่นั้น" "คุกขังตัวเขาได้แต่หัวใจอย่างปรารถนา" ทำให้เขามีเวลาค้นคว้าอย่างจริงทั้งในด้านหลักฐานข้อมูล และในด้านของภาษาต่าง ๆ จิตร ภูมิศักดิ์เป็นผู้ที่ฝึกฝนตนเองจนชำนาญทางด้านกาษามาก่อนการถูกจองจำ ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ, ฝรั่งเศส และเขมร ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยเบิกทางให้รู้อดีตของไทย, และเวลาที่อยู่ในคุกเขาก็มิได้ปล่อยให้ผ่านไปในการที่จะเรียนภาษาเพิ่ม ทั้งจีน และมอญ-พม่า ในบางส่วน อันจะเห็นได้ชัดจากบทต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้ของเขา ความพิถีพิถันและความประณีตในการทำงานนี้แหละทำให้ จิตร ภูมิศักดิ์สามารถเข้าถึงนิรุกติศาสตร์แห่งต้นตอของอดีตไทยได้อย่างลึกซึ้ง
ความเป็นมาของคำสยามฯ เป็นเรื่องราวทางภาษาศาสตร์มุ่ง ไปในการคันดว้าอดีตบางประการของไทย จิตร ภูมิศักดิ์พยายามชี้ให้เห็นราก และต้นตอของคำแต่ละคำ ชี้ให้เห็นข้อบกพร่อง และความผิดพลาดในการหาหลักฐาน จากคำต่างๆ เขาใช้คำเหล่านั้นสืบค้นต้นกำเนิดของคนไทยอย่างมีระบบ หนังสือเล่มนี้เบ็นการ "เล่น" กับของเก่าที่เป็นหลักฐานของคนไทยอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการดึงเอกสารโบราณออกมาใช้ เช่นบรรดาพวกตำนานที่เขียนขึ้นในภาคเหนือของไทย เอกสารเหล่านี้มักจะถูกนักวิชาการเพิกเฉยหรือไม่ก็ถูกตีคุณค่าไว้ต่ำมาก จิตร ภูมิศักดิ์ได้ดึงเอกสารเหล่านี้ขึ้นมา และชี้ให้เห็นว่ามันมีชีวิตและความหมายของมันอย่างไร
จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นนักศึกษาผู้มีความรู้กว้างขวาง และเข้าใจในความเกี่ยวโยงกันทางด้านวิชาการของความรู้แขนงต่างๆ ดังนั้น แม้เนื้อหาของงานชั้นสุดท้ายนี้จะอยู่ที่นิรุกติศาสตร์แต่เขาก็ได้ดึงวิชาประวัติศาสตร์ โบราณคดี ฯลฯ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังจะเห็นได้จากบทต่างๆ ที่เกี่ยวกับ "สยามกุก" ซึ่งเป็นการเสาะแสวงหาทางวิชาการที่น่าตื่นเต้นและน่าทึ่งเป็นที่สุด
งานชิ้นสุดท้ายชิ้นนี้ จิตร ภูมิศักดิ์ได้ฝากไว้กับเพื่อนนักเขียนผู้อาวุโสของเขา คือ สุภา ศิริมานนท์ โดยบอกฝากไว้เพียงสั้น ๆว่า "ถ้าหากมีทุนและมีโอกาสก็ ขอให้ จัดพิมพ์ให้ด้วย รวมทั้งถ้าหากมีตรงไหนบกพร่องหรือไม่สมบูรณ์ก็ขอให้แก้ไขตกเติมให้ด้วย" คุณสุภา ศิริมานนท์ได้เก็บต้นฉบับรักษาไว้เป็นอย่างดีเกือบ ๑๐ ปี และเมื่อบรรยากาศทางการเมืองเรีมจะเอื้ออำนวย กอรปทั้งมีคนเริ่มสนใจใฝ่รู้ในงานเขียนของจิตร ภูมิศักดิ์ มากขึ้นภายหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ งานของจิตร ภูมิศักดิ์จึงถูกเสนอมายังทางมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ โดยมีชลธิรา กลัดอยู่เป็นห่วงโซ่เปลาะสำคัญอีกเปลาะหนึ่ง ที่ทำ ให้หนังสือเล่มนี้ปรากฎต่อมหาชน
ทางมูลนิธิโครงการตำราฯ เมื่อได้รับต้นฉบับนี้มา ก็ได้ส่งให้ท่านผู้รู้ทางด้านนี้บางท่านตรวจดูต้นฉบับ และท้ายที่สุดก็ลงความเห็นว่าจักต้องพิมพ์งานชิ้นนี้ออกมา ทั้งนี้เพราะความดีเด่นในทางด้านวิชาการของมันเอง ทั้งยังเป็นเอกสารที่เป็นประวัติศาสตร์ไปในตัวของมันด้วย ฉะนั้น "ตรงไหนบกพร่อง หรือไม่สมบูรณ์ก็ขอให้แก้ไขตกเติมให้ด้วย" จึงเป็นประเด็นที่ต้องผ่านไปในขั้นนี้ เพื่อที่จะได้นำเอาต้นฉบับที่แท้จริงออกสู่มหาชนก่อน และเพื่อจะรักษาความเป็นประวัติศาสตร์ของต้นฉบับที่เป็นประวัติศาสตร์นี้ไว้อย่างครบครัน
ทางมูลนิธิโครงการตำราฯ ต้องขอขอบคุณ คุณแม่ของจิตร ภูมิศักดิ์ที่กรุณาอนุญาตให้จัดพิมพ์ในครั้งนี้ ทั้งยังต้องขอขอบคุณคุณสุภา ศิริมานนท์ที่ได้เก็บรักษาต้นฉบับไว้เป็นอย่างดี และให้เกียรติเฉพาะเจาะจงมาที่มูลนิธิโครงการตำราฯ ที่จะเป็นผู้จัดพิมพ์ อนึ่งยังมีอีกหลายท่านที่ได้ช่วยในการตีพิมพ์จัดทำบรรณานุกรม ซึ่งก็ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
ความเป็นมาของคำสยามฯ เป็นงานที่ยังไม่จบของจิตร ภูมิศักดิ์ เหมือนกับงานหลายชิ้นของเขา ไม่ว่าจะเป็นโฉมหน้าศักดินาไทย หรือเรื่องแปล เช่น โคทาน ของเปรมจันทร์ และท้ายที่สุดก็คืองานปฏิวัติของเขาที่ยังไม่จบเหมือนกัน งานของจิตร ภูมิศักดิ์เป็นงานที่ท้าทายต่อผู้คนและนับวันก็จะรอให้มีคนเข้ามาช่วยค้นดว้า, คิด, เขียน, ปฏิบัติเพื่อให้สำเร็จลุล่วงไป
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
๒๐ มิถุนายน ๒๕๑๘
Attached Files
File | Action |
---|---|
ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ.pdf | Download |